มารยาทในการฟังและดู
มารยาทเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการอยู่ร่วมกันในสังคม
กิจกรรมทุกกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกับผู้อื่นจะดำเนินไปด้วยความราบรื่น จำเป็นต้องมีมารยาทในการกระทำ การฟังและการดูก็เช่นเดียวกัน ถ้าฟังและดูคนเดียวในสถานที่ส่วนตัว ก็ไม่จำเป็นต้องรักษามารยาทเท่าใดนัก แต่ถ้าเป็นการฟังและการดูร่วมกับผู้อื่น
ควรมีและรักษามารยาทเพื่อเป็นการให้เกียรติผู้อื่น ทั้งผู้พูด
ผู้แสดง และผู้ฟังหรือผู้ดูด้วยกัน
ซึ่งมีแนวในการปฏิบัติดังนี้
๑. ตรงต่อเวลา
ควรไปถึงสถานที่ก่อนการบรรยายเพื่อหาที่นั่งที่เหมาะสม มีเวลาในการเตรียมพร้อมในหารฟังหรือดู
เพราะบางครั้งผู้บรรยายจะมีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจก่อนการบรรยายจริง
๒. ตั้งใจ
ฟังและดูด้วยความตั้งใจ
ไม่พูดคุยหรือนั่งหลับในที่ประชุม
๓. จดบันทึก
จดบันทึกส่วนสำคัญ
และข้อสงสัยต่างๆ
๔. ซักถาม เมื่อจบการบรรยาย
หากผู้บรรยายเปิดโอกาสให้ผู้สงสัยซักถามถึงข้อสงสัย ควรยกมือซักถามอย่างสุภาพ และกล่าวคำขอบคุณทุกครั้ง
๕. ปรบมือ
ปรับมือในจังหวะที่เหมาะสมหากพอใจเรื่องที่ฟัง แต่อย่าทำบ่อยเกินไป เพราะอาจเป็นการบกวนสมาธิของผู้อื่น
๖. สำรวมกิริยามารยาท
ไม่ลุกเดินไปมาบ่อยๆ
๗. มารยาทการรับประทานอาหาร
ไม่นำอาหารและเครื่องดื่มเข้าไปรับประทานในห้องประชุม หรือโรงมหรสพ
๘. ระงับอารมณ์
เมื่อเกิดความไม่พึงพอใจในสิ่งใดก็ตามในขณะที่ฟัง ควรรู้จักระงับสติอารมณ์และสำรวมกิริยาให้เป็นปกติ
๙. ใช้วิจารณญาณ
ใช้ความคิดและวิจารณญาณไตร่ตรองว่าสารที่รับนั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใดและมีการใช้ภาษาที่เหมาะสมหรือไม่
๑๐. ตั้งใจฟังคู่สนทนา ในการสนทนาทั่วไป ควรตั้งใจฟังคู่สนทนา สบตาผู้พูด
ผู้ฟัง เพื่อแสดงว่ากำลังสนใจเรื่องที่สนทนา
๑๑. ตั้งใจฟังจนจบ
ไม่พูดสอดแทรกขณะที่คู่สนทนากำลังพูด
๑๒. มารยาทในการชมภาพยนตร์หรือโทรทัศน์
ควรตั้งใจดูไม่พูดคุย
ไม่เล่าเรื่องหรือวิพากษ์วิจารณ์เรื่องที่
เป็นการทำลายสมาธิผู้อื่น
๑๓. ในโรงมหรสพ
ต้องรักษามารยาทกับเพศตรงข้าม
การฟังและการดูเพื่อเกิดประโยชน์สูงสุดนั้น ผู้ฟังหรือผู้ดูจะต้องมีความตั้งใจ เป็นลักษณะของผู้ฟังและผู้พูดที่ดี คือ
การมีมารยาทในการฟังและการดู
เพราะเป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสาร
ที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารพึงมีเพื่อให้การสื่อสารนั้นเกิดสัมฤทธิ์ผล
ผู้ส่งสารหรือผู้พูด
ควรมีความคิดที่ดี
เพื่อที่จะส่งสารที่ดีมายังผู้ฟังโดยมี
“ความจริงใจ ความตั้งใจ
ความเต็มใจ” ซึ่งเป็นพื้นฐานในการส่งสาร
ส่วนผู้ฟังผู้ดูหรือผู้รับสาร ควรรับสารโดยปราศจากอคติและแยกแยะข้อเท็จจริงออกจากข้อคิดเห็น ตลอดจนเลือกฟังและเลือกดู “สิ่งที่เป็นประโยชน์”
และใช้วิจารณญาณในการฟัง
และการดูอย่างเหมาะสม
ซึ่งถ้ามีการเตรียมตัวให้พร้อมในการรับฟังและดู
จะได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น