ประเภทของสารที่ฟังและดู

ประเภทของสารที่ฟังและดู

๑.สารที่ให้ความรู้ เช่น การฟังและการดูข่าวสารข้อมูลต่างๆ การฟังและการดูเรื่องทางวิชาการและการฟังและดูเรื่องเกี่ยวกับสาขาวิชาชีพที่ตนสนใจ เป็นต้น

๒.สารที่โน้มน้าวใจ เช่น การฟังและการดูโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโฆษณาสินค้าหรือโฆษณาหาเสียง การเชิญชวนให้ร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ การโต้วาที และการอภิปรายในบางเรื่อง เป็นต้น

๓.สารที่สร้างความจรรโลงใจ ในนี้หมายถึง การรับสารที่ทำให้เกิดความเพลิดเพลินใจเพิ่มความสุข คลายความทุกข์ และให้แง่คิดเตือนใจแก่ผู้รับสาร เช่น การฟังนิทาน การฟังเพลง การดูการ์ตูนหรือภาพยนตร์ การฟังเทศน์ การฟังและการดูเรื่องที่ทำให้ตระหนักถึงคุณค่าของสิ่งต่างๆในชีวิต

การวิเคราะห์และประเมินค่าสารจากการฟังและการดู


๑.การวิเคราะห์สาร การรับสารจากสื่อในแต่ละครั้ง ผู้รับสารควรพิจารณาเนื้อหาเป็นส่วนๆ โดยอาศัยการตรึกตรองด้วยเหตุผล สามารถแยกเนื้อหาส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นได้

๒.การตีความ  นอกจากผู้รับสารจะแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นของสารได้แล้วขั้นตอนต่อไปคือ จะต้องพยายามเข้าใจความหมายที่แท้จริงของสารนั้นด้วย โดยอาศัยการตีความทั้งตีความตัวอักษร เนื้อหา และน้ำเสียงของสาร

๓.การวินิจฉัยเพื่อประเมินค่า เป็นขั้นตอนการพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบเพื่อหาคุณค่าของสาร
ที่สำคัญคือ ต้องตรึกตรองสารอย่างปราศจากอคติ

การประเมินผลการรับสาร


๑.ท่าทีและการวางตัว เช่น การแต่งกาย การยิ้มแย้มแจ่มใส ความเชื่อมั่น ความกระตือรือร้น ความสามารถในการควบคุมตนเอง

๒.เสียง เช่น ความดัง ความน่าฟัง การออกเสียงที่ถูกต้องชัดเจน ความเป็นกันเอง ความนุ่มนวลน่าฟังของเสียง อัตราช้าเร็ว การย้ำ การเน้นเสียง เป็นต้น

๓.อากัปกิริยาท่าทาง เช่น การทรงตัว การเคลื่อนไหว การประสานสายตากับผู้ฟัง การใช้กิริยาท่าทางให้เหมาะสมกับคำพูดและบรรยากาศของที่ประชุม เป็นต้น

๔.ภาษาที่ใช้ เช่น ความชัดเจนของภาษาที่ใช้สื่อสารและความถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ไทย เป็นต้น

๕.ความคิดและเนื้อหาสาระ เช่น การนำเสนอที่มีจุดมุ่งหมายชัดเจน ข้อเท็จจริงถูกต้อง มีการอ้างอิงเหตุผลประกอบที่สัมพันธ์กัน และควรเป็นความคิดที่สร้างสรรค์ เป็นต้น

๖.การเรียบเรียงเรื่อง เช่น เริ่มอารัมภบทน่าสนใจ ลำดับเนื้อหาสาระได้เหมาะสมและสรุปความคิดได้รัดกุม เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น