1. ต้องเข้าใจความหมาย หลักเบื้องต้นจองการจับใจความของสารที่ฟังและดูนั้น
ต้องเข้าใจความหมายของคำ สำนวนประโยคและข้อความที่บรรยายหรืออธิบาย
2. ต้องเข้าใจลักษณะของข้อความ ข้อความแต่ละข้อความต้องมีใจความสำคัญของเรื่องและใจความสำคัญของเรื่องจะอยู่ที่ประโยคสำคัญ
ซึ่งเรียกว่า ประโยคใจความ ประโยคใจความจะปรากฏอยู่ในตอนใดตอนหนึ่งของข้อความ โดยปกติจะปรากฏอยู่ในตอนต้น ตอนกลาง และตอนท้าย หรืออยู่ตอนต้นและตอนท้ายของข้อความผู้รับสารต้องรู้จักสังเกต
และเข้าใจการปรากฏของประโยคใจความในตอนต่าง ๆ ของข้อความ
จึงจะช่วยให้จับใจความได้ดียิ่งขึ้น
3. ต้องเข้าใจในลักษณะประโยคใจความ ประโยคใจความ คือข้อความที่เป็นความคิดหลัก
ซึ่งมักจะมีเนื้อหาตรงกับหัวข้อเรื่อง เช่น เรื่อง “สุนัข” ความคิดหลักคือ
สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่รักเจ้าของ แต่การฟังเรื่องราวจากการพูดบางทีไม่มีหัวข้อ
แต่จะพูดตามลำดับของเนื้อหา ดังนั้นการจับใจความสำคัญต้องฟังให้ตลอดเรื่องแล้วจับใจความว่า
พูดถึงเรื่องอะไร คือจับประเด็นหัวเรื่อง และเรื่องเป็นอย่างไรคือ สาระสำคัญหรือใจความสำคัญของเรื่องนั่นเอง
4. ต้องรู้จักประเภทของสาร สารที่ฟังและดูมีหลายประเภท ต้องรู้จักและแยกประเภทสรุปของสารได้ว่า เป็นสารประเภทข้อเท็จจริง
ข้อคิดเห็นหรือเป็นคำทักทายปราศรัย ข่าว ละคร สารคดี
จะได้ประเด็นหรือใจความสำคัญได้ง่าย
5. ต้องตีความในสารได้ตรงตามเจตนาของผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารมีเจตนาที่จะส่งสารต่าง ๆ กับบางคนต้องการให้ความรู้
บางคนต้องการโน้มน้าวใจ และบางคนอาจจะต้องการส่งสารเพื่อสื่อความหมายอื่น
ๆ ผู้ฟังและดูต้องจับเจตนาให้ได้ เพื่อจะได้จับสารและใจความสำคัญได้
6. ตั้งใจฟังและดูให้ตลอดเรื่อง พยายามทำความเข้าใจให้ตลอดเรื่อง ยิ่งเรื่องยาวสลับซับซ้อนยิ่งต้องตั้งใจเป็นพิเศษและพยายามจับประเด็นหัวเรื่อง
กริยาอาการ ภาพและเครื่องหมายอื่น ๆ ด้วนความตั้งใจ
7. สรุปใจความสำคัญ ขั้นสุดท้ายของการฟังและดูเพื่อจับใจความสำคัญก็คือสรุปให้ได้ว่า
เรื่องอะไร ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไรและทำไม
หรือบางเรื่องอาจจะสรุปได้ไม่ครบทั้งหมดทั้งนี้ย่อมขึ้นกับสารที่ฟังจะมีใจความสำคัญครบถ้วนมากน้อยเพียงใด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น